เมนู

จริงอยู่ ในวาทะที่ว่าเป็นอนาบัติและอาบัติเป็นต้นนี้ มีความต่างกัน
ในเพราะเหตุสักว่าชื่อเท่านั้น, ในนัยแห่งการประกอบความหามีความต่างกัน
ไม่, เพราะฉะนั้น การประกอบความ ท่านจึงไม่ทำให้พิสดาร. เมื่อเกิดคำ
วินิจฉัยถึงสิ่งที่เป็นกัปปิยะและอกัปปิยะเป็นต้นอย่างนี้แล้ว ฝ่ายใด ได้พบเหตุ
มากมาย ในสูตร สุตตานุโลม อาจริยวาท และอัตโนมัติ, ควรตั้งอยู่ในวาทะ
ของฝ่ายนั้น. อนึ่ง ทั้งสองฝ่าย เมื่อไม่ได้พบเหตุและคำวินิจฉัย โดยประการ
ทั้งปวง ไม่ควรละทิ้งสูตร ควรตั้งอยู่ในสูตรเท่านั้น ฉะนี้แล. พระวินัยธร
ผู้ปรารถนาความเป็นผู้ฉลาดในสิกขาบท วิภังค์แห่งสิกขาบทนั้น และวินัย
วินิจฉัยทั้งสิ้น ควรทราบวินัย 4 อย่างนี้ ดังพรรณนามาฉะนี้.

[พระวินัยธรประกอบด้วยลักษณะ 3 อย่าง]


ก็แล บุคคลผู้ทรงวินัย แม้ครั้นทราบวินัย 4 อย่างนี้แล้ว ก็ควร
เป็นผู้ประกอบด้วยลักษณะ 3. จริงอยู่ ลักษณะแห่งพระวินัยธร 3 อย่าง
ควรปรารถนา. ลักษณะ 3 อย่าง เป็นไฉน? ลักษณะ 3 อย่าง คือ:-
คำว่า ก็สูตรของพระวินัยธรนั้น เป็นพุทธพจน์ที่มาถูกต้องคล่องแคล่วดี
วินิจฉัยดี โดยสูตร โดยพยัญชนะ1 นี้เป็นลักษณะอันหนึ่ง. คำว่า ก็พระ-
วินัยธรนั้น เป็นผู้มั่นคง ไม่ง่อนแง่นในวินัยแล นี้เป็นลักษณะที่สอง. คำว่า
ก็ลำดับอาจารย์แล เป็นลำดับที่พระวินัยธรนั้นจำได้ถูกต้อง ทำให้ขึ้นใจไว้ดี
ใคร่ครวญถูกต้องดีแล้ว2 นี้เป็นลักษณะที่สาม.

[อรรถาธิบายลักษณะ 3 ของพระวินัยธร]


ในคำว่า สุตฺตญฺจ เป็นต้นนั้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- วินัยปิฎกทั้งสิ้น
ชื่อว่าสูตร, สูตรนั้นของพระวินัยธรนั้น เป็นพุทธพจน์ที่มาถูกต้อง คือมา
ด้วยดี
1-2. นย. วิ. ปริวาร. 8/329.

บทว่า สุปฺปวตฺติตํ ได้แก่ เป็นไปด้วยดี คือชำนาญ คล่องปาก.
หลายบทว่า สุวินิจฺฉิตํ อนุพฺยญฺชนโส ได้แก่ ที่วินิจฉัย
เรียบร้อย คือที่ตนตัดความสงสัย เรียนเอาไว้ โดยบาลีปริปุจฉาและอรรถกถา.
หลายบทว่า วินเย โข ปน ฐิโต โหติ ความว่า พระวินัยธร
นั้นเป็นผู้ตั้งมั่นในพระวินัย ด้วยความเป็นลัชชีภิกษุ. จริงอยู่ อลัชชีภิกษุ
แม้เป็นพหูสูต เพราะค่าที่ตนเป็นผู้หนักในลาภ ก็แกล้งกล่าวให้ผิดแบบแผน
แสดงสัตถุศาสนานอกธรรมนอกวินัย ย่อมทำอุปัทวะมากมายในพระศาสนา คือ
ก่อให้เกิดสังฆเภทบ้าง สังฆราชีบ้าง. ฝ่ายภิกษุลัชชี เป็นผู้มักรังเกียจ ใคร่
การศึกษา แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต ก็ไม่แกล้งกล่าวให้ผิดแบบแผน ย่อม
แสดงเฉพาะธรรม เฉพาะวินัยเท่านั้น คือทำสัตถุศาสนาให้เป็นที่เคารพตั้งอยู่.
จริงอย่างนั้น พระมหาเถระทั้งหลายในปางก่อน เปล่งวาจา 3 ครั้งว่า ใน
อนาคตกาล ภิกษุลัชชี จักรักษาไว้, ภิกษุลัชชี จักรักษาไว้ ดังนี้เป็นต้น.
ก็ภิกษุรูปใด เป็นลัชชี ดังกล่าวมาแล้วนั้น ภิกษุรูปนั้น เมื่อไม่ละไม่ฝ่าฝืน
วินัย เป็นผู้ตั้งมั่น คือมั่นคงอยู่ในวินัย ด้วยความเป็นลัชชีภิกษุ ฉะนี้แล.
บทว่า อสํหิโร ความว่า บุคคลใด ถูกผู้อื่นถามด้วยบาลีโดยเบื้องต่ำ
หรือเบื้องสูง ด้วยลำดับบทหรืออรรถกถา ย่อมทุรนทุราย กระสับกระส่าย
ไม่อาจตั้งมั่นอยู่ได้ ย่อมคล้อยตามคำที่ผู้อื่นกล่าว ทิ้งวาทะของตนเสีย ถือเอา
วาทะของผู้อื่น ผู้นั้น ชื่อว่าผู้ง่อนแง่น. ฝ่ายบุคคลใด ถูกผู้อื่นถามด้วยบท
เบื้องต่ำและสูง หรือด้วยลำดับบทในบาลีก็ดี ในอรรกถาก็ดี ย่อมไม่ทุรน-
ทุราย ไม่กระสับกระส่าย เปรียบเหมือนเอาแหนบจับขนทีละเส้น ๆ ฉะนั้น
ชี้แจงกะเขาว่า ข้าพเจ้ากล่าวอย่างนี้, อาจารย์ทั้งหลายของข้าพเจ้า ก็กล่าว
อย่างนี้. อนึ่งบาลีและวินิจฉัยบาลี ตั้งอยู่ในบุคคลใด ไม่ถึงความเลื่อมสิ้น

หมดเปลืองไป เหมือนน้ำมันราชสีห์ที่ใส่ไว้ในภาชนะทองคำ ไม่ถึงความสิ้น
ไปฉะนั้น, บุคคลนี้ ท่านเรียกว่า ผู้ไม่ง่อนแง่น.
หลายบทว่า อาจริยปรมฺปรา โข ปนสฺส สุคฺคหิตา โหติ
ความว่า ลำดับแห่งพระเถระ คือลำดับวงศ์ เป็นลำดับที่พระวินัยธรนั้น
จำได้อย่างถูกต้อง.
บทว่า สุมนสิกตา ได้แก่ ทำให้ขึ้นใจอย่างดี แต่พอนึก ก็ปรากฏ
ได้ คล้ายประทีปที่ลุกโชน ฉะนั้น.
บทว่า สูปธาริตา ได้แก่ ใคร่ครวญโดยดี คือใคร่ครวญโดยความ
สืบเนื่องกันแห่งเบื้องต้นและเบื้องปลาย โดยผลและโดยเหตุ.

[ลำดับอาจารย์ตั้งแต่พระอุบาลีเถระเป็นต้นมา]


บุคคลละมติของตนแล้วเป็นผู้กล่าวความบริสุทธิ์แห่งอาจารย์ คือนำ
ลำดับอาจารย์ ได้แก่ระเบียบแห่งพระเถระทั้งหมดอย่างนี้ คือพระอาจารย์ของ
ข้าพเจ้าเรียนเอาในสำนักของอาจารย์ชื่อโน้น, อาจารย์นั้นเรียนเอาในสำนัก
อาจารย์ชื่อโน้น, ไปตั้งไว้จนให้ถึงคำว่า "พระอุบาลีเถระ เรียนเอาในสำนัก
ของพระพุทธเจ้า."
พระอาจารย์รูปต่อ ๆ มา ได้นำแม้จากพระอุบาลีเถระนั้นมา คือได้
นำลำดับแห่งพระอาจารย์ ได้แก่ระเบียบแห่งพระเถระทั้งหมด จนให้ถึงพระ-
อาจารย์ของตน แล้วตั้งไว้อย่างนี้ว่า "พระอุบาลีเถระเล่าเรียนมาในสำนักของ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า, พระทาสนกเถระ เล่าเรียนมาในสำนักของพระอุบาลีเถระ
ผู้เป็นอุปัชฌายะของตน, พระสิคควเถระ เล่าเรียนมาในสำนักของพระโสณก-
เถระ ผู้เป็นอุปัชฌายะของตน, พระโมคคลีบุตรติสสเถระ เล่าเรียนมาใน